การใช้ความรุนแรงของรัฐ กรณีป่ากลาง จ.น่าน

ประวัติการตั้งถิ่นฐาน บ้านป่ากลาง
การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ลำดับความขัดแย้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ของรัฐ
ลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้ง และการใช้ความรุนแรง
สถานการณ์การใช้พื้นที่ปัจจุบัน
ข้อเรียกร้องในการแก้ไขปัญหา

ประวัติการตั้งถิ่นฐาน ม้ง บ้านป่ากลาง ต.ป่ากลาง อ.ป้ว จ.น่าน

ในประวัติศาสตร์ม้งได้อพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศจีนในคริสตวรรษที่ 17 ราฃวงศ์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์ในราฃวงศ์เหม็งเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยใฃ้วิธีการปราบปรามม้งให้ม้งยอมจำนน แต่ม้งกระทำการต่อสู้อย่างรุนแรง การต่อสู้แต่ละครั้งม้งประสบความปราชัยอย่างยับเยินและเสียหาย สูญเสียกำลังรบอย่างมหาศาล ในที่สุดม้งก็ตัดสินใจล่องใต้เหมือนกับชนชาติไทยเมื่อพันกว่าปีก่อนโดยประมาณ การอพยพเข้าไทย จากการบอกเล่าจากการประมาณการของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จำความใด้ว่าประมาณ 250 ปีก่อน เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านจังหวัด น่าน เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดอื่นๆเพื่อหาพื้นที่ที่สงบๆ เพราะม้งเป็นเผ่าที่รักความสงบและสันโดด ไม่ชอบความวุ่นวายจึงพากันอพยพมาทางประเทศยวนข้ามมาลาวและเข้ามาในไทยตามลำดับ เหมือนกลุ่มคนอื่นๆที่เข้ามาหากินในประเทศไทย

ในจังหวัดน่านม้งได้อพยพมาทางเท้าข้ามน้ำโขงเข้ามาเมื่อ 200 ปีก่อนและทางราชการได้ประกาศให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2475 ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตดอยภูคา-ผาแดง อยู่ในเขตปกครองของอำเภอปัวในขณะนั้น ตอนนี้แยกเป็น อำเภอทุงช้างและเชียงกลางในปัจจุบัน แล้วกระจายไปตั้งถิ่นฐานตามอำเภอต่างๆ เช่น อ.ทุ่งช้าง อ.ปัว อ.บ่อเกลือ โดยการประกอบอาชีพการทำการเกษตร ปลูกข้าว ปลูกผักและการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลักและทำรายได้ให้แก่ม้ง การปลูกฝิ่นสมัยนั้นถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ฝิ่นสมัยนั้นเป็นตัวยาที่สำคัญในการผลิตยา ทำให้การปลูกฝิ่นเป็นไปอย่างเสรี ฝิ่นเป็นรายได้หลักเพื่อนำเงินมาแลกชื้อปัจจัยสี่ สำหรับม้งฝิ่นนอกจากเป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับม้งแล้วฝิ่นยังเป็นสมุนไพรที่รักษาโรคได้อีกด้วย

การปลูกฝิ่นสมัยก่อนปลูกได้อย่างเปิดเผย และยังเป็นการจากทางการส่งเสริมที่กล่างมาแล้วข้างต้น ฝิ่นยังเป็นที่นิยมดูดไม่ต่างอะไรกับร้านเหล้าในปัจจุบัน ดูได้จากหัวเมืองต่างๆทางภาคเหนือจะมีโรงสูบฝิ่นไว้บริการหัวเมืองละหลายแห่ง การปลูกฝิ่นทำให้ม้งมีความผูกพันกับพ่อค้าฝิ่นจากหลายชนชาติและหลายชนชั้น ที่สำคัญคือพ่อค้ารายย่อยจากตัวเมืองและอำเภอต่างๆในจังหวัดน่านที่นำเสื้อผ้าข้าวสารอาหารแห้งยารักษาโรคมาแลกฝิ่น ม้งเมื่อได้เงินจากการขายฝิ่นเป็นเงินแล้วก็ลงมาชื้อหาอาหารจากข้างล่างเหมือนกัน จึงมีความผูกพันกับกลุ่มคนในพื้นที่แน่นแฟ้นพอสมควรดูจากวงจรการพึ่งพากันในอดิต

ประมาณปี 2502 มีการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในจังหวัดน่าน การเคลื่อนไหว พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคลื่อไหวอย่างหนักในปี 2506 ทางด้านความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองก็ปะทุขึ้นที่จังหวัดน่าน การเคลื่อไหวของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับชุมชนของม้งเช่นกัน ทำให้ม้งแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเข้าไปเคลื่อนไหวกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งในปี 2510 เสียงปืนนัดแรกเริ่มแตกในจังหวัดน่าน นั่นก็หมายความว่าสงครามทางชนชั้นมีความชัดเจนมาก ม้งกลุ่มสองได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ข้างล่างตามข้อนโยบายแยกน้ำออกจากปลาของทหาร ในที่ตั้งถิ่นฐานในปัจจุบัน ทางทหารจัดสรรที่ทำกินคนละ 10 ไร่ ที่อยู่อาศัยคนละ 1 ไร่ ที่ทางราชการขีดเส้นแบ่งพื้นที่ให้ราษฎรลงในแผนที่ เมื่อม้งลงไปดูในพื้นที่จริงกับปรากฎว่าเป็นพื้นที่ช้อนทันกับคนพื้นราบเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ม้งกับคนพื้นราบเริ่มมีความขัดแย้งกับ กลุ่มม้งจึงใช้วิธีขอชื้อกับเจ้าของเดิมอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาการแย่งพื้นที่จึงยุติลงในบางส่วน ชาวพื้นราบส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะอพยพม้งมาอยู่ที่ป่ากลางและมีการคัดค้านอย่างหนักเหมือนกัน ทางทหารจึงรับปากกับคนพื้นราบว่า ถ้าบ้านเมืองสงบแล้วจะอพยพม้งไปที่อื่น หรือไม่ก็ให้กลับไปอยู่ที่เดิม จึงทำให้คนพื้นราบที่คัดค้านการอพยพม้งจึงซาลง

ประมาณปี 2515 รัฐบาลต้องการเอาชนะ พคท.อย่างสมบูรณ์แบบ ในเขตรอยต่ออำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และเขตทุ่งหัวช้างมีฐานที่มั่นที่สำคัญของ พคท.คือฐานที่มั่นบ้านผาแดง ตอนนั้นรัฐบาลต้องการทำลายฐานที่มั่นบ้านผาแดง รัฐบาลจึงเข้าไปจัดตั้งชาวเขา และฝึกชุดชาวเขาอาสาสมัคร (ชขส.) โดยใช้วิธีการเกลือจิ้มเกลือ ฝึกให้ชาวเขาทำการรบแบบกองโจร และก็มีข้อแลกเปลี่ยนบางอย่างกับกลุ่มชาวเขา เช่น ชาวเขาที่ยังไม่มีสัญชาติรัฐบาลก็จะให้สัญชาติ ชาวเขาที่ไม่มีที่ทำกินก็จะให้ที่ทำกิน กลุ่มม้งบ้านป่ากลางก็ร่วมเป็นชาวเขาอาสาสมัคร (ชขส.)เพื่อกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แบบเกลือจิ้มเกลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคลื่อนไหวกับชาวเขารัฐบาลก็เอาชาวเขาเข้าสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยการนำของ ร.อ.บุญยัง บูชา เป็นผู้บังคับบัญชาการในค่าย ชาวเขาอาสาสมัคร (ขชส.) เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษพร้อมกับการมีความจงรักภักดีต่อแผ่นดินไทยที่ตนอาศัยอยู่ ม้งจึงร่วมรบกับทหารแบบเคียงบ่าเคียงไหล่จนฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแตก

ปี 2517 ม้งเริ่มเข้ามามอบตัวเป็นรุ่นแรก หลังจากถูกลุกหนักจากทางราชการ และได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านป่ากลาง โดยทางราชการไม่ได้จัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แต่อย่างใด ม้งที่อาศัยอยู่ก่อนจึงแบ่งที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับม้งที่มอบตัวต่อทางราชการ ทำให้ที่ทำกินของม้งที่อาศัยอยู่ก่อนถูกแบ่งในพื้นที่จำกัด ปี 2523 ทางรัฐบาลใด้ใช้นโยบาย 66/2523 การเมืองนำการทหาร ทำให้กลุ่มม้งเข้ามอบตัวต่อทางราชการทั้งหมด เข้าเป็นผู้พัฒนาชาติไทย ได้ตั้งหมู่บ้านในเขตพื้นที่ที่มีการสู้รบมาก่อนถึง 6 กลุ่มบ้าน .บ้านปางแก 1 บ้านปางแก 2 บ้านมณีพฤกษ์ บ้านหนองปลา บ้านชี บ้านหนอง อยู่ในอำเภอเชียงกลางและอำเภอทุ่งช้างในปัจจุบัน โดยการการพัฒนาอยู่ในความรับผิดชอบของทหาร หน่วยงานทหารที่รับผิดชอบคือ กอ.รมน.

จากการโยกย้ายม้งมาที่บ้านป่ากลางในนโยบายแยกปลาออกจากน้ำและเพื่อเพื่อหลบภัยทางการเมือง ตามนโยบายแยกน้ำออกจากปลาเพื่อการเอาชนะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และทหารมีการจัดหาที่ดินทำกินแลที่อยู่อาศัยให้กับม้ง ทำให้คนพื้นราบในพื้นที่ตำบลเชียงกลางส่วนใหญ่ไม่พอใจ ด้วยเหตุผลพื้นที่ที่ทหารจัดสรรให้กับม้งช้อนทับกับที่ทำกินเดิมของคนพื้นราบที่ทำกินมาก่อน ทางทหารใด้ทำข้อตกลงกับคนพื้นราบใว้ว่าถ้าเหตุการสงบก็จะหาที่อยู่ใหม่ให้กับม้งกลุ่มนี้ โดยไม่ใด้กำหนดวันเวลาและสถานที่ เมื่อไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนจากหน่วยงานทหาร ที่รับผิดชอบ

ต่อมาในปี 2523 กลุ่มม้งก็เริ่มปักหลักอยู่ที่บ้านป่ากลางอย่างถาวรที่บ้านป่ากลาง อ.ปัง จ.น่าน ประกอบกับการให้คำมั่นสัญญาทหารที่ให้กับม้งตอนที่ม้งร่วมตีฐานที่มั่นบ้านผาแดงแตก ทหารจะให้พื้นที่ที่เป็นที่ทำกินที่เป็นทำเดิมของม้งสมัยที่อพยพออกให้เข้าไปทำกินใด้ พื้นที่ก็เหมาะสมกับสภาพการทำการเกษตรแบบม้ง (พื้นที่ที่มีปัญหาในปัจจุบัน) พื้นที่ดังกล่าวเหมาะแก่การทำการเกษตรมากกว่าพื้นที่ อ.ปัวม้งทั้งสองจึงเริ่มทำการเกษตรแบบถาวร ตามแนวทางการพัฒนาของรัฐโดยปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นที่มีความมั่นคง

การทำมาหากินของม้งในช่วงนั้นก็ไม่เกิดปัญหาอะไร ปลูกฝิ่น ทำไร่หมุนเวียนปลูกข้าว ประกอบกับการมีความสัมพันธ์ของม้งกับคนพื้นราบมาก่อน จนกระทั่งรัฐบาลมีนโยบายให้ชาวเขาลดละเลิกการปลูกฝิ่น โดยการหาพืชตัวใหม่มาให้กลุ่มชาวเขาปลูกเป็นพืชทดแทนฝิ่น ม้งก็ทำตามนโยบายของรัฐบาลมาโดยตลอด เริ่มจากการปลูกกาแฟ ปลูกพืชล้มลุกอีกหลายชนิดไปพร้อมกับการศึกษาวิจัยเพื่อหาทางออกของทางราชการ ในนโยบายเอาชนะฝิ่น สุดท้ายก็พบพืชที่มีความเหมาะสมและสร้างรายได้ให้แก่ชาวเขาที่เข้าร่วมโครงการคือลิ้นจี่ ชึ่งเป็นผลไม้เมืองหนาวที่รัฐบาลนำสายพันธุ์มาจากประเทศจีน ที่หน่วยงานทหารมาส่งเสริมในพื้นที่คือ กอ.รมน.

ม้งกลุ่มนี้ก็ถูกพัฒนาเหมือนกับชาวเขาทั่วๆไป โดยการพัฒนาทางด้านการเกษตรแบบดั่งเดิมมาทำการเกษตรแผนใหม่ ตามทางการที่เข้าไปส่งเสริม ทำให้วิถีชีวิตของม้งเปลี่ยนไป จากการทำเพื่อยังชีพมาทำเพื่อขาย ที่ดินที่เคยทำมาก็ไม่พอม้งกลุ่มนี้จึงหาทางที่จะมีที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อให้พอแก่การเพราะปลูก วิธีแรกคือกว้านชื้อที่ดินในพื้นที่เดียวกัน และพร้อมกับการจัดรูปที่ดินให้ได้สัดส่วน ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นตามการส่งเสริมของรัฐบาล โดยเฉพราะลิ้นจี่เป็นไม้ผลเมืองหนาวที่เหมาะกับพื้นที่ และเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้คนม้งเริ่มเห็นหนทางและความอยู่รอดจึงเริ่มมีการลงทุนเป็นล่ำเป็นสัน ประกับความมานะพยายามสร้างหลักปักฐานม้งจึงได้กู้เงินมาลงทุนในการทำสวนลิ้นจี่อย่างเอาจริงเอาจังในพื้นที่ที่มีการตกลงตามเงื่อนไขของทหาร ทำให้ม้งกลุ่มนี้ติดหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์เพื่อการเกษตรและหนี้นอกระบบไม่ต่ำกว่าคนละ 50,000 บาทในการลงทุน

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ในอดีตบ้านม้งป่ากลางเป็นส่วนหนึ่งของตำบลศิลาแลง ชาวม้งบ้านป่ากลางมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลป่าศิลาแลงและป่าชุมชนตำบลศิลาแลง มีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อการตรวจสอบในการดูแลป่าของตำบล เมื่อมีการยกระดับหมู่บ้านป่ากลางมาเป็นตำบลป่ากลาง จึงมีการการบริจาคพื้นที่ในตำบลป่ากลางเพื่อเป็นป่าชุมชนในตำบล 600 ไร่ หลังจากนั้นจึงช่วยกันฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้กลับสู่สภาพเดิม โดยการปลูกเสริมเป็นบางส่วนจนในปัจจุบันพื้นที่ทั้ง 600 ไร่กลับสู่ภาพป่าที่สมบูรณ์

ในพื้นที่ทำกินในปัจจุบันเป็นพื้นที่ติดต่อกันหลายหมู่บ้าน ยังได้ร่วมกันรักษาผืนป่าที่เป็นป่าต้นน้ำและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในบริเวณพื้นที่ทำกินในปัจจุบันถึง 40,000 กว่าไร่ ในปัจจุบันมีการประสานงานกันตลอด ในหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ้านปางแก 1 บ้านปางแก 2 บ้านมณีพฤกษ์ บ้านหนองปลา บ้านชี บ้านหนอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษาป่าให้ป็นป่าต้นน้ำลำธารของหมู่บ้านและเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป

ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามที่จะใช้นโยบายต่างๆเพื่อให้ได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น โดยพื้นฐานที่มีความเชื่อว่าพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพราะมีประชาชนบุกรุกเข้าไปบุกเบิกเป็นที่ทำกินทั้งหมด รัฐมิใด้มองสาเหตุของการสุญเสียพื้นที่ป่าอย่างแท้จริง ว่าการสุญเสียป่าที่ผ่านมาเกิดจากสาเหตุใหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎหมายที่แรงขึ้น นโยบายที่แรงขึ้น ผู้ที่ทำการบุกรุกป่าตัวจริงกลับใช้ช่องโหว่ของกฎหมายถือครองพื้นที่ป่าอย่างเชิดหน้าชูตาในสังคมอย่างหน้าตาเฉิย กลุ่มคนเหล่านี้ชอบหาแพะมาบูชายันต์ ในอดีตแพะคือกลุ่มเกษตรกรชาวนาชาวไร่เป็นกลุ่มแรกที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกทำลายป่าในการขยายที่ดินทำการเกษตร แต่เกษตรกรชาวนาชาวไร่ไม่ว่าจะในอดิตหรือปัจจุบัน เกษตรกรยังไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตัวเอง พื้นที่ป่าในปี 2504 มีพื้นที่ป่าทั้งหมด 156 ล้านไร่ ในปัจจุบันพื้นที่ป่าเหลือไม่ถึง 88 ล้านไร่ พื้นที่ป่า 68 ล้านไร่หายไปใหน ?

ม้งบ้านป่ากลาง ไม่ต่างอะไรกับแพะหลายๆตัวที่ถูกมาบูชายันต์ในการประกาศศักดาว่า ข้าคือผู้ยิ่งใหญ่ การประกาศความยิ่งใหญ่ของนักการเมืองระดับสูงหรือข้าราชการที่จะไต่เต้าขึ้นไป ชาวบ้านตาดำๆจะเป็นทั้งแพะและบันไดให้เขาเหล่านั้นไต่เต้าเสมอ เหตุการที่เกิดขึ้นที่ป่าแก้งกะอาม อำเภอสมเด็จจังหวัดกาฬสินธ์และม้งป่ากลางเป็นการประกาศศักดาของผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งนั้น

การบุกเข้าไปทำลายข้าวของและตัดต้นลิ้นจี่ของม้งป่ากลาง มิได้ทำตามตัวบทกฎหมายแต่อย่างไร เพียงแต่ผู้ยิ่งใหญ่ในกรมป่าไม้ท่านหนึ่ง ประกาศที่ดอยภูคาผาแดงในวันที่เป็นประธานปลูกป่าในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในวันที่ 21 สิงหาคม 2542 ว่า "ถ้าต้นไม้ตายหนึ่งต้นก็จะตัดต้นลิ้นจี่พวกม้งหนึ่งต้น" ครบรอบหนึ่งปีในวันที่ 21 สิงหาคม 2543 ต้นไม้ที่ท่านผู้ยิ่งใหญ่ประกาศไว้ยังไม่ทันตายสักต้น ต้นลิ้นจี่ม้งถูกตัดแล้ว 30,100 กว่าต้นแล้ว การกระทำในครั้งนี้ถ้าดูตามเหตุตามผลแล้วเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างเห็นใด้ชัด ตัดต้นลิ้นจี่ของกลุ่มม้งป่ากลางเพียงกลุ่มเดียวที่มีสัดส่วนของสวนลิ้นจี่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นที่เข้าไปทำกิน

การกระทำดังกล่าวเชื่อใด้ว่าเป็นร่วมมือกันหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง ข้าราชการพลเรือน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มองค์กรต่างๆที่ถูกจัดตั้งโดยกรมป่าไม้และข้าราชการในจังหวัดน่าน ดูจากกระบวนการในการปฏิบัติการโหดในครั้งนี้มีหน่วยงานราชการเพียบที่ ออกมาให้ความคุ้มกันในการทำลายต้นลิ้นจี่และเผาบ้านเรือนราษฎรที่ปลูกใว้ในสวน การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นการกระทำชึ่งหน้า เจ้าหน้าตำรวจสามารถจับกุมดำเนินคดีหรือห้ามปรามไว้ก็ใด้ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกับเจ้าหน้าปกครองกับไม่ทำอะไร

ลำดับความขัดแย้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ของรัฐ

ปี 2528 รัฐมนตรีเห็นชอบกับนโยบายการประกาศพื้นที่ป่าคุณภาพลุ่มน้ำ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ใด้กำหนดพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำใว้ 5 ชั้นคุญภาพลุ่มน้ำ การกำหนดพื้นที่ดังกล่าวใด้ส่งผลกระทบดังนี้คือ

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A มีข้อกำหนดดังนี้

ห้ามเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นอย่างอื่นย่างเด็ดขาด เพื่อรักษาเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างถาวร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบำรุงรักษาป่าธรรมชาติที่มีอยู่ ระงับการอนุญาติการทำไม้โดยเด็ดขาด และให้ป้องการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวดกวดขัน บริเวณใดที่กำหนดเป็นเขตป่าต้นน้ำชั้น 1 A แล้วหากภายหลังพบว่าเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือป่าเสื่อมโทรม ให้หน่วยงานที่เกียวข้องทำการปลูกป่าทดแทนต่อไป บริเวณใดที่มีราษฎรอาศัยดั่งเดิมอย่างถาวร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดที่ทำกินให้เป็นการถาวร เพื่อมิให้โยกกย้ายและทำลายป่าให้ขยายขอบเขตเข้าไปอีก ตามหลักเกณฑ์การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำดังกล่าว ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติมีนโยบายที่จะจำแนกการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 10-17 มีนาคม 2535 โดยแบ่งป่าออกเป็น 3 โซน คือ เป็นป่าอนุรักษ์ (โซน C) ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร (โซน A) โดยมีมาตราการการใช้ประโยชน์ดังนี้

1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์โซน C
1.1 ห้ามใช้ประโยชน์ถ้ามีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ใด้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายๆไป ส่วนที่อนุญาติไปแล้วเมื่อหมดอายุไม่ต้องต่ออายุออกไปอีก ยกเว้นการสำรวจแร่ การทำ เหมืองแร่ และการระเบิดหิน ให้ทำได้ตามมติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการจัดระเบียบชุมชน
2.1 ให้อพยพราษฎรออกพื้นที่โดยเร็วแล้วทำการปลูกป่า เพื่อฟื้นสภาพแวดล้อมทันที
2.2 หากไม่สามารถอพยพราษฎรออกจากพื้นที่ได้ทันที ให้ทางราชการดำเนินการควบคุมพื้นที่มิให้มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และการขยายชุมชนนั้นเพิ่มขึ้นมาอีก และเมื่อดำเนินการอพยพราษฎรเสร็จสิ้นแล้วให้ทำการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยเร็ว
2.3 ให้จัดทำแผนรองรับราษฎรที่ต้องอพยพลงมาอยู่ในเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร หรือพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจตามความเหมาะสม โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม

จากการดำเนินงานและจัดทำแนวเขตป่า 63 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งการจำแนกแนวเขตป่าต้น้ำและการจำแนกแนวเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ พบว่าราษฎรประมาณ 1.5 ล้านครอบครัวประชากรกว่าสิบล้านคนตกอยู่ในเขตป่าที่กรมป่าไม้จำแนกออกมา ที่จำเป็นต้องอพยพโยกย้ายออกมาเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า เพื่อให้มีพื้นที่ป่า 25 %ของประเทศ สำหรับภาคเหนือผลการจำแนกพื้นที่ลุ่มน้ำพบว่า 2,777 หมู่บ้านตกอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำฃั้น 1Aทำให้สถานการณ์การอพยพรุนแรงขึ้นตามลำดับ

ปี 2531 รัฐบาลประกาศพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ การประกาศพื้นที่นี้เป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีการสำรวจแนวเขตและสำรวจที่ทำกินของชาวบ้านที่อยู่ในเขตป่าก่อนการประกาศ ทำให้การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา-ผาแดง เป็นการประกาศทับพื้นที่อยู่อาศัยพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ชาวบ้านกลายเป็นผู้บุกป่าสงวนแห่งชาติโดยทันที

ปี 2542 รัฐบาลประกาศพื้นที่ป่าผืนนี้เป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูคา โดยยึดแนวเขตตามแนวเดิมในการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติในปี 2531แน่นอนการประกาศใช้กฎหมายอุทยานในพื้นที่ที่ไม่กันแนวเขตหมู่บ้านออกจากแนวเขตอุทยาน ชาวบ้านในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคากลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอุทยานโดยทันที

ปี 2541 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดินของคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของราษฎรในเขตป่าที่รัฐบาลประกาศทับลงไปมีปัญหาทันที เช่น พื้นที่ทำกินของราษฎรถูกตีความตามเนื้อหาของมติ ครม.วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลม อยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และการทำกินไม่ต่อเนื่องนับจากการประกาศเป็นป่าสงวนหวงห้ามในครั้งแรก (การประกาศเป็นป่าสงวนหวงห้ามในครั้งแรกเมื่อปี 2484 ตาม พรบ.ป่าไม้ 2484) และที่สำคัญคือ

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ยกเลิกแนวทางการแก้ไขปัญหาราษฎรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎรที่ถูกประกาศเป็นเขตป่าทับ ที่ราษฎรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาตาม มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ราษฎรไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจทุกระดับชั้นในการแก้ไขปัญหา อำนาจในการแก้ไขปัญหาอยู่ที่กรมป่าไม้เพียงกรมเดียว โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของราษฎรเจ้าของปัญหา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยวิธีการใช้ความรู้เพียงด้านเดียว เช่น การใช้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลัก และการจำกัดความการใช้ภาษาทางเทคนิคในการแก้ไขปัญหาที่ราษฎรในพื้นไม่มีความรู้และความเข้าใจ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541สร้างความสบสนในการแก้ไขปัญหา ขาดหลักการที่ชัดเจน เช่น มีการพูดถึงการไม่อนุญาติให้ราษฎรอยู่ในพื้นที่ล่อแหลมตามคำกำจัดความของกรมป่าไม้ แต่ไม่มีหลักการในการแก้ไขปัญหา ในขั้นตอนต่อไป เช่นเดียวกับการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา-ผาแดง และอุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกาศทับพื้นที่ที่มีราษฎอาศัยอยู่ 6 อำเภอ 24 ตำบล ในปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาแต่อย่างไร ในทางกลับกันรัฐบาลใช้วิธีการจับกุมชาวบ้านแล้วดำเนินคดีเพียงอย่างเดียว เมื่อชาวบ้านถูกจับกุมแน่นอนที่สุดจะต้องเจอข้อหาบุกรุกอุทยานเพียงสถานเดียว ในเมื่อการประกาศเป็นเขตอุทยานไม่ประกาศให้ชาวบ้านรับทราบ และไม่กันพื้นที่ชาวบ้านออกจากเขตอุทยานชาวบ้านย่อมมีความผิดตามกฎหมายอุทยาน

ลำดับเหตุการณ์การใช้ความรุนแรง


สถานการณ์การใช้พื้นที่ปัจจุบัน


การเปรียบเทียบพื้นที่ทำกินของชาวม้งป่ากลางกับพื้นที่ในบริเวณ ลุ่มน้ำเปือ น้ำกอน ในเขตเชียงกลาง ทั้งหมด
  1. พื้นที่ลุ่มน้ำเปือ น้ำกอน ในเขตเชียงกลาง ทั้งหมด 58,125 ไร่ คิดเป็น 100 %
  2. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัย 47,583 ไร่ คิดเป็น 82 %
  3. พื้นที่ทำการเกตษรของคนในพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียน 8,724 ไร่ คิดเป็น 15 %
  4. พื้นที่ทำการเกตษรของชาวม้งป่ากลางที่ขึ้นทะเบียน 1,818 ไร่ คิดเป็น 3 %

การเปรียบเทียบพื้นที่ทำกินของชาวม้งป่ากลางกับพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด
  1. พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 10,542 ไร่ คิดเป็น 100 %
  2. พื้นที่ทำการเกษตรของคนในพื้นที่ 8,724 ไร่ คิดเป็น 83 %
  3. พื้นที่ทำการเกษตรของชาวม้งป่ากลาง 1,818 ไร่ คิดเป็น 17 %

สรุปความเสียหายทั้งหมด
  1. พื้นที่ทำการเกษตรถูกทำลายทั้งหมด จำนวน 1,076 ไร่
  2. ต้นลิ้นจี่ จำนวน 31,060 ต้น
  3. ชาวสวนที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 116 ครอบครัว
  4. ยอดความเสียหายทั้งหมด มีมูลค่า ประมาณ 198,182,340 บาท

ข้อเรียกร้องในการแก้ไขปัญหา

  1. ให้รัฐบาลรีบเร่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 โดยเร่งด่วน
  2. ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่ประกอบไปด้วย รัฐบาล นักวิชาการ ตัวแทนผู้ได้รับความเดือดร้อนที่มีองค์กอบที่เท่าเทียมกัน เพื่อ ตรวจสอบและเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ร่วมลงมือในการกระทำที่ผิดในครั้งนี้
  3. ให้รัฐจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ อย่างเป็นธรรม ทั้งในปัญหาเฉพราะหน้าและปัญหาระยะยาว
  4. ให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่เป็นต้นเหตุในการเกิดปัญหาในครั้งนี้

ข้อมูล : คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน